บทเรียนของสโมสร  ปัญหาที่ต้องเจอ อยู่ในวงการฟุตบอล บ้านเรามานานหลายปี

บทเรียนของสโมสร มีหลายทีมที่เข้ามาพร้อมกับเจ้าของสโมสร ที่ทะเยอทะยาน ทุ่มเงินจำนวนมาก ก่อนจะหมดไฟหายไปอย่างรวดเร็วอย่างรวดเร็ว ทิ้งไว้แต่ความผิดหวังของแฟนบอลที่ถูกหลอกขายฝัน 

บางคนต้องเจอกับทีมที่ไร้อนาคต บางคนต้องเห็นทีมรักย้ายถิ่นเดิม หรือบางคนต้องเห็นทีมรักหายไปต่อหน้าต่อตา ปัญหาความยั่งยืนของสโมสรฟุตบอลไทย ไม่ใช่สิ่งที่แก้กันง่าย ๆ เพราะโมเดลของทีมฟุตบอลบ้านเราอำนาจอยู่ในมือของเจ้าของทีม

ซึ่งหากมีผู้นำที่ดีก็ถือเป็นโชคดีของคนในท้องถิ่น แต่ถ้าไม่แฟนบอลก็ทำได้แค่ก้มหน้าก้มตาเชียร์กันไป เพราะสุดท้ายแฟนบอลก็ไม่ได้มีอำนาจ มีสิทธิ์มีเสียงชี้ขาดความเป็นไปของสโมสร แต่การสร้างสโมสรฟุตบอลให้ยั่งยืน อยู่คู่กับคนท้องถิ่นตลอดไปสามารถเกิดขึ้นจริงได้ ผ่านโมเดลระบบผู้ถือหุ้นที่ให้แฟนบอลเป็นเจ้าของสโมสร 

ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทย มีกลุ่มคนที่เห็นความสำคัญของการมีสโมสรฟุตบอลที่ยั่งยืน และตัดสินใจลงมือทำเพื่อหวังเป็นแม่แบบของฟุตบอลไทย เพื่อการเติบโตแบบลงหลักปักฐาน ผ่านการให้แฟนบอลผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของ เพื่อให้เป็นทีมฟุตบอลของแฟนบอลจริง ๆ

“ยูเนี่ยน โคราช” คือทีมที่เรากล่าวถึง สโมสรเล็ก ๆ จากจังหวัดนครราชสีมา แต่มีอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่ อยากให้สโมสรแห่งนี้เป็นต้นแบบของความยั่งยืน และเปลี่ยนให้วงการลูกหนังไทย หันมาให้ความสำคัญกับการทำทีมฟุตบอลที่แฟนบอลมีส่วนร่วมมากขึ้น วิเคราะห์บอล

จะพาทุกท่านไปคุยกับ กฤษดา เสริฐกระโทก หรือที่แฟนบอลในจังหวัดนครราชสีมา รู้จักในนาม “กบ สกินเฮด” ประธานสโมสร และผู้ก่อตั้งคนสำคัญของ ยูเนี่ยน โคราช ถึงเหตุผลของการกำเนิดสโมสรที่อยากอยู่คู่กับแฟนบอลทุกคน และเปิดโอกาสให้แฟนบอลได้ภูมิใจกับการมีทีมฟุตบอลเป็นของตัวเองจริง ๆ 

บทเรียนของสโมสร

ฟุตบอลไทย “จุดเริ่มต้นทีมยูเนี่ยน ทีมที่เป็นของคนโคราช 

ทีมที่ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ” กฤษดาเริ่มกล่าว  “ส่วนตัวเราก็เป็นแฟนบอลมานาน มากกว่า 10 ปี เป็นแฟนบอลมาตั้งแต่ยุค นครราชสีมา สตริงเรย์ สมัยเป็นทีมฟุตบอลในยุคโปรวิเชี่ยล ลีก ตั้งแต่ยุคนั้นที่ไม่มีคนดูเลย แต่เราอยากให้ฟุตบอลของทีมนครราชสีมามีคนดูเยอะ ๆ เพราะนี่คือทีมของคนโคราช อยากให้มาเชียร์ทีมจังหวัดของเรา”

“จากสมัยก่อนที่ไม่มีใครสนใจเลยนะ คนจะดูแต่พรีเมียร์ลีก จะดูแต่บอลต่างประเทศ เราก็ไปยืนแจกใบปลิวทุกวันที่มีการแข่งขัน พูดคุยกับคนนู้นคนนี้บ้าง ทำกิจกรรมอยากให้แฟนบอลเข้าสนาม อย่างน้อยให้แฟนเข้าสนามเพิ่มขึ้นมาสักคนก็ดีใจแล้ว” 

“เราทำแบบนี้มาตลอด กระตุ้นให้คนเข้าสนามฟุตบอล จนกระทั่งได้เห็นคนดูจากหลักสิบ เป็นหลักร้อย เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเราได้เห็นแฟนบอลเข้าสนามโคราชระดับสามหมื่นคน ตอนขึ้นไทยลีก ที่เล่าเรื่องนี้ให้ฟังก็เพราะว่า ตอนนั้นทุกอย่างที่เราทำ เพราะทำแล้วมีความสุข ด้วยความรู้สึกว่า นี่คือทีมของคนโคราช นี่คือทีมของเรา” 

หากว่าวงการฟุตบอลไทยเดินหน้าเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงฟุตบอลอาชีพที่มีเงินหลายร้อยล้านบาทหมุนเวียน เราคงไม่ได้เห็น กฤษดา เสริฐกระโทก ออกมาตั้งสโมสรแห่งนี้ และเขาคงเป็นแฟนบอลคนหนึ่งต่อไป 

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง ตัวของกฤษดา และแฟนบอลกลุ่มหนึ่งของทีมนครราชสีมา ได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการลูกหนังบ้านเรา กับปัญหาความไม่ยั่งยืนของสโมสร อนาคตของทีมขึ้นอยู่กับเจ้าของทีมแต่เพียงผู้เดียว นโยบายของทีมก็ขึ้นอยู่กับว่าคนทำทีมจะเข้ามาทำจริงจัง หรือทำเล่น ๆ ไม่มีอะไรมารับประกันอนาคตของสโมสร และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา แฟนบอลก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เลย

“เรากับเพื่อน ๆ พี่น้องที่เป็นกลุ่มแฟนบอลด้วยกัน ก็คุยกันตลอดนะว่า อะไรคือสิ่งที่แฟนบอลอย่างพวกเราต้องการมากที่สุด คำตอบก็คือ การทำทีมฟุตบอลด้วยความยั่งยืน ทีมต้องเป็นสมบัติของคนในเมือง และทีมต้องอยู่ได้ด้วยแฟนบอล”

“มันก็เป็นความคิดที่ต้องใช้เวลาหลายปีนะ กว่าจะตกผลึกจนคิดถึงมุมมองตรงนี้ได้ ซึ่งก็เป็นเรามานั่งคิดดูว่า เชียร์ฟุตบอลไทยมาสิบกว่าปี นายทุนทำทีมฟุตบอลถอนทุนกันไปเท่าไหร่? นักการเมืองเลิกทำกันไปกี่คน? ถามกลับว่าได้เห็นทีมฟุตบอลล้มหายตายจากไปกี่ทีมแล้ว? ถูกจับตามอง

บทเรียนของสโมสร

 การลงทุนฟุตบอลมันใช้เงินเยอะ ต้องลงทุนกับเงินเป็นสิบล้าน

ถามว่าเขาได้อะไรกลับมาบ้าง ดังนั้นถ้าเขาจะถอนทุนมันก็ไปแปลก” “แต่เราไปนั่งศึกษาทีมฟุตบอลต่างประเทศ ทำไมเขาอยู่ได้เป็นร้อย ๆ ปี แต่ละทีมก็มีรากเหง้า มีประวัติศาสตร์ของตัวเอง พอไปหาข้อมูลก็พบว่า ทีมฟุตบอลทั้งในอังกฤษ หรือเยอรมัน จุดเริ่มต้นของเขามาจากคนที่รักในฟุตบอลเหมือนกัน มารวมกลุ่มกัน สร้างตัวเป็นสโมสรขึ้นมา ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เป็นแบบนั้น”

“ในความคิดของเรา เราไม่อยากได้ทีมฟุตบอลที่ทำแบบปีต่อปี เราอยากได้ทีมที่วางรากฐานในระยะยาว พัฒนาเป็น 10 ปี มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า 10 ปีข้างหน้า ทีมของเราจะพัฒนาไปทิศทางไหน ไม่ใช่แค่ว่าทุ่มเงินลงมาก้อนใหญ่ แต่ไม่พัฒนาโครงสร้างของสโมสร ไม่วางรากฐานของทีมในระยะยาว”

คือสิ่งที่ผลักดันให้ กฤษดา เสริฐกระโทก และเพื่อน ๆ แฟนบอลชาวนครราชสีมา มองหาทางออกของปัญหา ด้วยการลองตามหาโมเดลของสโมสรฟุตบอลที่ไม่ต้องพึ่งเงินของนายทุนใหญ่ หรือนักการเมืองเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่วงการลูกหนังบ้านเราจะให้ความสนใจเท่าไหร่นัก “ตอนนั้นเราก็ไปศึกษาโมเดลในฟุตบอลยุโรปนะ ทั้งอังกฤษ หรือสเปน

ได้เห็นทั้งข้อดี ได้เห็นทั้งปัญหา จนกระทั่งเรามาเจอกฎ 50+1 ของฟุตบอลเยอรมัน ที่แฟนบอลต้องถือหุ้นอย่างน้อย 51 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นผู้ที่หุ้นใหญ่ของสโมสร เราเจอก็รู้สึกว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ”  “พอไปหาข้อมูลเชิงลึก เราก็ได้พบกับเรื่องราวของทีม ยูเนี่ยน เบอร์ลิน (อูนิโอน เบอร์ลิน)

ซึ่งเป็นทีมของคนชนชั้นแรงงาน เป็นทีมของคนรากหญ้าที่รวมใจกันเป็นเจ้าของทีม เรารู้สึกว่านี่แหละใช่เลย นี่คือตัวตนของทีมเรา มันคือความรู้สึกเดียวกัน เราก็เป็นชนชั้นรากหญ้า ความคิดของเราตรงกันกับพวกเขา” “ซึ่งคนกลุ่มของเรา ก็เป็นคนธรรมดา บางคนเป็นกรรมกร เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นไรเดอร์ส่งอาหาร เป็นนักเรียน นักศึกษา บางคนก็เป็นผู้สูงอายุ เป็นข้าราชการก็มี เราอยากให้ความรู้สึกว่า นี่คือทีมที่ทุกคนเข้าถึงได้”